10.10 น.
ถึง สนามบินคยา เมืองคยา ประเทศอินเดีย (เวลาท้องถิ่น ช้ากว่าประเทศไทย 01.30 ชั่วโมง) และผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร
เดินทางสู่ เมืองพุทธคยา (ใช้เวลาประมาณ 45 นาที) สถานที่เชื่อกันว่าเป็นที่ตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้าซึ่งค้นพบโดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษ ชื่อ เซอร์ อเลกซานเดอร์ คันนิงแฮม เมื่อร้อยกว่าปีก่อนแล้ว
บ่าย
นำท่านนมัสการ สถูปพุทธคยา ทรงศิขระที่ได้รับการบูรณะใหม่ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป “พระพุทธเมตตา” ปางมารวิชัย แล้วนำนมัสการ ต้นศรีมหาโพธิ์ ที่ได้นำพันธุ์มาปลูกตรงที่เชื่อกันว่าเป็นจุดที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้สมโพธิญาณ
นำชม สัตตมหาสถาน สถานที่พระพุทธเจ้าเสวยวิมุติสุขหลังจากตรัสรู้แล้วเจ็ดแห่ง แห่งละสัปดาห์รอบๆพุทธคยาเพื่อทบทวนความรู้ก่อนที่จะเสด็จออกสั่งสอนผู้คน อันประกอบไปด้วย
1.เสด็จประทับบนพระแท่นวัชรอาสน์ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์พร้อมเสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน ในสัปดาห์ที่ 1
2.เสด็จประทับ ณ อนิมิสเจดีย์ ทรงยืนจ้องพระเนตรดูต้นศรีมหาโพธิ์ โดยมิได้กระพริบพระเนตรตลอด 7 วัน ในสัปดาห์ที่ 2
3.เสด็จประทับ ณ รัตนจงกรมเจดีย์ ทรงนิมิตจงกรมขึ้น แล้วเสด็จจงกรมเป็นเวลา 7 วัน ในสัปดาห์ที่ 3
4.เสด็จประทับ ณ รัตนฆรเจดีย์ โดยเสด็จไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นศรีมหาโพธิ์ และประทับนั่งขัดสมาธิในเรือนแก้วซึ่งเทวดานิรมิตถวาย ทรงพิจารณาพระอภิธรรม 7 วัน ในสัปดาห์ที่ 4
5.เสด็จไปประทับนั่งขัดสมาธิใต้ต้นไทร อชปาลนิโครธ ซึ่งเป็นที่พักของคนเลี้ยงแกะ ในสัปดาห์ที่ 5
6.เสด็จไปประทับนั่งขัดสมาธิใต้ต้นจิก มุจลินทร์ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นศรีมหาโพธิ์ ในสัปดาห์ที่ 6
7.เสด็จไปประทับใต้ต้นเกด ราชายตนะ ประทับนั่งเสวยวิมุติสุขตลอด 7 วัน
นำท่านชม พระมหาโพธิ์เจดีย์ อนุสรณ์สถานแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภายในประดิษฐานพระพุทธเมตตาพระพุทธรูปที่รอดจากการถูกทำลายจากพระเจ้าศศางกา พระพุทธ รูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยแบบศิลปะปาละ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธทั่วโลก
ชมศิลปะอินเดียสมัยพระเจ้าอโศกอายุกว่า 2,200 ปี ชม เสาพระเจ้าอโศก ที่ทรงให้สร้างเพื่อประกาศศาสนาและถวายเป็นพุทธบูชาแก่สังเวชนียสถาน
ชม ประตูโทรณะ ที่สลักเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ แล้วชมสถูปและภาพสลักอดีตพระพุทธเจ้าศิลปะสมัยปาละอายุราว 1,200 ปี สมัยปาละเป็นช่วงที่พุทธศาสนารุ่งเรืองแผ่ขยายอยู่ในอินเดียภาคเหนือโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาลันทา รัฐพิหารตามหลักฐานการบันทึกจดหมายเหตุการณ์เดินทางมาสืบทอดพุทธศาสนาของหลวงจีนเหี้ยนจัง (พระถังซัมจั๋ง) และหลวงจีนอี้จิง จากประเทศจีน
เช้า
รับประทานอาหารเช้า ณ โรงแรมที่พัก
เดินทางสู่ เมืองเวสาลี (ใช้เวลาเดินทางโดยประมาณ 6 ชั่วโมง)
นำท่านชมเมืองหลวงของอาณาจักรวัชชี หนึ่งในสิบหกแค้วนของชมพูทวีปในสมัยโบราณ เมืองนี้มีชื่อหลายชื่อคือ ไพสาลี ไวสาลี และเมืองนี้เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่พุทธศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่ง รวมทั้งเป็นที่กำเนิดของพระมหาวีระศาสดาของศาสนาเชนและที่เป็นต้นกำเนิดของการทำน้ำมนต์ในพุทธศาสนา เนื่องจากได้เกิดทุพิกขภัยร้ายแรงทั่วเมืองเวสาลีมีคนตายมากมาย กษัตริย์ลิจฉวีจึงได้นิมนต์ให้พระพุทธเจ้าได้มาโปรดชาวเมือง พระพุทธเจ้าจึงนำเหล่าภิกษุ 500 รูป เดินทางไปโปรดที่เมืองไวสาลี พร้อมทั้งได้มีการประพรมน้ำมนต์ทั่วทั้งเมือง
นำท่านเที่ยวชม วัดป่ามหาวัน ชมเสาอโศกที่สมบูรณ์ที่สุดและงดงามที่สุดของอินเดีย เมืองเวสาลีมีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล โดยเป็นเมืองหลวงแห่งแคว้นที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากแคว้นหนึ่งในบรรดา 16 แคว้นของชมพูทวีป มีการปกครองด้วยระบบสามัคคีธรรมหรือคณาธิปไตย ที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบหนึ่ง คือไม่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทรงอำนาจสิทธิ์ขาด มีแต่ผู้เป็นประมุขแห่งรัฐซึ่งบริหารงานโดยความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งจะประกอบไปด้วยเหล่าสมาชิกจากเจ้าวงศ์ต่างๆ ซึ่งรวมเป็นคณะผู้ครองแคว้น ในคัมภีร์พระพุทธศาสนากล่าวว่าเจ้าวงศ์ต่างๆ มีถึง 8 วงศ์ และในจำนวนนี้วงศ์เจ้าลิจฉวีแห่งเวสาลีและวงศ์เจ้าวิเทหะแห่งเมืองมิถิลาเป็นวงศ์ที่มีอิทธิพลที่สุด ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาที่เวสาลีหลายครั้ง แต่ละครั้งจะทรงประทับที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวันเป็นส่วนใหญ่ พระสูตรหลายพระสูตรเกิดขึ้นที่เมืองแห่งนี้ และที่กูฏาคารศาลานี่เองที่เป็นที่ๆ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี พระน้านางของพระพุทธองค์ พร้อมกับบริวาร สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีได้เป็นครั้งแรกในโลก และในการเสด็จครั้งสุดท้ายของพระพุทธองค์ พระองค์ได้ทรงรับสวนมะม่วงของนางอัมพปาลี นางคณิกาประจำเมืองเวสาลี ซึ่งนางได้อุทิศถวายเป็นอารามในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ได้ทรงจำพรรษาสุดท้ายที่เวฬุวคาม และได้ทรงปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์ และเมื่อหลังพุทธปรินิพพานแล้วได้ 100 ปี ได้มีการทำสังคายนาครั้งที่ 2 ณ วาลิการาม ซึ่งทั้งหมดล้วนอยู่ในเมืองเวสาลี
วันที่ 3
กุสินารา - มหาปรินิพพานสถูป - มกุฎพันธเจดีย์ - ลุมพินี(เนปาล)
เช้า
รับประทานอาหารเช้า ณ โรงแรมที่พัก
นำท่านชม สังเวชนีย เมืองกุสินารา ในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองเอกหนึ่งในสองของแคว้นมัลละ อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำคู่กับเมืองปาวา เป็นที่ตั้งของสาลวโนทยานหรือป่าไม้สาละ ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานและเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า “สาลวโนทาย” สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถากุนวะระกาโกฏ (Matha-Kunwar-Ka-Kot) ซึ่งแปลว่า ตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ ปรากฏตามคัมภีร์ว่า เมืองนี้เคยเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ เป็นที่เกิดบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หลายครั้ง เคยเป็นราชธานีนามว่ากุสาวดีของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ นำท่านนมัสการอนุสรณ์สถานที่สำคัญคือ มหาปรินิพพานสถูป ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วิหารปรินิพพานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปรินิพพานอยู่ภายในและมีซากศาสนสถานโบราณโดยรอบมากมาย
จากนั้นนำท่านนมัสการสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าที่ มกุฎพันธเจดีย์ แล้วนำนั่งสมาธิที่วิหารพระรูปพระพุทธไสยาสน์ มีจารึกกำหนดอายุเก่าแก่กว่า 1,400 ปี แสดงตอนเสด็จปรินิพพาน
เที่ยง
รับประทานอาหารกลางวัน
บ่าย
นำท่านเดินทางสู่ เมืองลุมพินี (ใช้เวลาเดินทางโดยประมาณ 4-5 ชั่วโมง) ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า
*** โปรดเตรียมหนังสือเดินทางติดตัวไว้ เพื่อประทับตราออกจากประเทศอินเดียเข้าสู่ประเทศเนปาล ***
ที่พัก
Nansc Hotel หรือเทียบเท่า (เมืองลุมพินี)
วันที่ 4
สวนลุมพินีวัน - เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช - วิหารมายาเทวี - พาราณสี
เช้า
รับประทานอาหารเช้า ณ โรงแรมที่พัก
นำท่านชม สังเวชนียสถาน สวนลุมพินีวัน เป็นสถานที่พระนางสิริมหามายาประสูติเจ้าชายสิทธัตถะกุมาร เมื่อวันศุกร์ วันเพ็ญเดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ซึ่งภายในบริเวณมีวิหารมหามายา สระโบกขรณี และเสาพระเจ้าอโศกที่มีขนาดความสูง 22 ฟุต 4 นิ้วและมีข้อความจารึกเป็นหลักฐานว่า “ณ ที่นี่คือ สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ และพระเจ้าอโศกเสด็จมาบูชาในปีที่ 20 แห่งรัชกาลของพระองค์” (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 ) ปัจจุบันลุมพินีวันได้รับการบูรณะและมีถาวรวัตถุสำคัญที่ชาวพุทธนิยมไปสักการะ คือ “เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช” ที่ระบุว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ นอกจากนี้ยังมี “วิหารมายาเทวี” ภายในประดิษฐานภาพหินแกะสลักพระรูปพระนางสิริมหามายาประสูติพระราชโอรส โดยเป็นวิหารเก่ามีอายุร่วมสมัยกับเสาหินพระเจ้าอโศก ปัจจุบันทางการเนปาลได้สร้างวิหารใหม่ทับวิหารมายาเทวีหลังเก่า และได้ขุดค้นพบศิลาจารึกรูปคล้ายรอยเท้า สันนิษฐานว่าเป็นจารึกรอยเท้าก้าวที่เจ็ดของเจ้าชายสิทธัตถะที่ทรงดำเนินได้เจ็ดก้าวในวันประสูติ ปัจจุบันลุมพินีวันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนประเทศอินเดียทางเหนือเมืองโคราฆปุระ ห่างจากเมืองติเลาราโกต (หรือ นครกบิลพัสดุ์) ทางทิศตะวันออก 11 กิโลเมตร และห่างจากสิทธารถนคร (หรือนครเทวทหะ) ทางทิศตะวันตก๑๑กิโลเมตร ซึ่งถูกต้องตามตำราพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่าลุมพินีวันสถานที่ประสูติตั้งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ ปัจจุบันลุมพินีวันมีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ ทางการเรียกสถานที่นี้ว่า รุมมินเด มีสภาพเป็นชนบท มีผู้อาศัยอยู่ไม่มากมีสิ่งปลูกสร้างเป็นพุทธสถานเพียงเล็กน้อย แต่มีวัดพุทธอยู่ในบริเวณนี้หลายวัด รวมทั้งวัดไทยลุมพินี ลุมพินีวันได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกประเภทมรดกทางวัฒนธรรมตั้งแต่ปี พ.ศ.2540
เที่ยง
รับประทานอาหารกลางวัน
บ่าย
นำเดินทางสู่ เมืองพาราณสี (ใช้เวลาเดินทางโดยประมาณ 6-7 ชั่วโมง) สถานที่แสดงปฐมเทศนา ดินแดนแห่งการแสวงบุญชำระบาป มรดกโลกที่มีชีวิตสี่พันปีของอินเดียและเป็นเมืองหลวงแคว้นกาสี มีแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ไหลผ่าน มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 4,000 ปี จัดเป็นเมืองสุทธาวาสที่สถิตแห่งศิวเทพและถือว่าเป็นเมืองอมตะของอินเดีย เป็นที่แสวงบุญทั้งของชาวฮินดูและชาวพุทธทั่วโลก
ที่พัก
City Inn Hotel หรือเทียบเท่า (เมืองพาราณสี)
วันที่ 5
ล่องเรือแม่น้ำคงคา - สารนารถ - สถูปเจาคันธี - ธรรมเมขสถูป - พิพิธภัณฑ์แห่งเมืองสารนาถ - พุทธคยา
05.00 น.
นำท่าน ล่องเรือแม่น้ำคงคา สัมผัสกับความหลากหลายของผู้คนและที่แม่น้ำคงคาที่ชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากเป็นจุดที่ตุ้มหู ของพระศิวะตกอยู่ใต้แม่น้ำแห่งนี้ ในทางพุทธศาสนาเองเชื่อกันว่าเป็นสถานที่ได้นำพระอัฐิของพระพุทธเจ้ามาลอยอังคารที่แม่น้ำแห่งนี้ด้วย
นำท่าน ถวายกระทง เพื่อเป็นพุทธบูชา ณ ที่นี่เอง ท่านจะได้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวฮินดูซึ่งจะมาอาบน้ำ ดื่มน้ำรวมทั้งท่าน้ำที่นี่จะมีพิธีเผาศพในช่วงเช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
จากนั้นนำท่านเดินทางกลับโรงแรม
เช้า
รับประทานอาหารเช้า ณ โรงแรมที่พัก
นำท่านชม สังเวชนียสถาน เมืองสารนารถ สถานที่แสดงปฐมเทศนา นมัสการสถูปเจาคันธี สถานที่พระพุทธเจ้าพบปัจจัคคีอีกครั้งหลังจากตรัสรู้แล้ว
นำนมัสการ ธรรมเมขสถูป ที่เชื่อกันว่าเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาหัวข้อธรรมจักกัปปวัตตนสูตรทำให้พระโกณฑัญญะบรรลุโสดาบันพระพุทธศาสนาจึงมีพระรัตนตรัยครบ ๓ ประการ แล้วนำชมวิหารมูลคันธกุฏิหลังใหม่ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาเลียนแบบคุปตะและจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องพุทธประวัติฝีมือช่างชาวญี่ปุ่น
แล้วนำท่านชม พิพิธภัณฑ์แห่งเมืองสารนาถ ชมหัวเสาพระเจ้าอโศก ทำเป็นรูปสิงห์บางท่านอธิบายว่าเป็นสัญลักษณ์ของศากยสิงห์พระราชวงศ์ของพระพุทธเจ้า เสามีฐานบัวคว่ำ มีบัลลังก์สี่เหลี่ยมรอบสลักเป็นรูปธรรมจักรและรูปช้าง ม้า สิงห์และโค แล้วนำชมโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบในบริเวณเมืองสารนาถและเมืองใกล้เคียง อาทิเช่น พระพุทธรูปศิลปะแบบคันธาระ แบบมถุรา แบบคุปตะ และ แบบปาละ ฯลฯ แล้วนำชมโบราณวัตถุชิ้นเอกของพิพิธภัณฑ์ พระพุทธรูปแบบคุปตะปางปฐมเทศนา ที่ค้นพบบริเวณใกล้ๆกับ มูลคันธกุฎี สถานที่จำพรรษาของพระพุทธเจ้า “อนึ่งศิลปะคุปตะได้รับการยกย่องว่ามีความงดงามและสมบูรณ์แบบที่สุดในศิลปะอินเดียทั้งมวลและเมืองสารนาถยังเป็นศูนย์กลางของโรงเรียนสกุลช่างคุปตะ ที่อายุเก่าแก่ถึง 1,400 ปีมาแล้ว
เที่ยง
รับประทานอาหารกลาง
บ่าย
นำท่านเดินทางกลับไปยัง เมืองพุทธคยา (ใช้เวลาเดินทางโดยประมาณ 5-6 ชั่วโมง)
ที่พัก
Bodhgaya Gautam Hotel หรือเทียบเท่า (เมืองคยา)
วันที่ 6
พุทธคยา - กรุงเทพฯ(สนามบินดอนเมือง)
เช้า
รับประทานอาหารเช้า ณ โรงแรมที่พัก
ได้เวลาอันสมควร นำท่านเดินทางสู่ สนามบินพุทธคยา
10.40 น.
ออกเดินทางกลับสู่ กรุงเทพฯ ประเทศไทย โดย สายการบินแอร์เอเชีย (Air Asia) เที่ยวบินที่ FD123 ใช้เวลาเดินทางโดยประมาณ 02.40 ชั่วโมง (มีบริการอาหารบนเครื่อง)
14.50 น.
ถึง สนามบินดอนเมือง กรุงเทพมหานคร โดยสวัสดิภาพ