เช้า
รับประทานอาหารเช้า ภายในโรงแรมที่พัก
จากนั้น นำท่านเข้านมัสการ
พระมหาเจดีย์พุทธคยา พร้อมสักการะองค์พระประธาน “พระพุทธเมตตา” และสักการะต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งต้นโพธิ์ต้นดังกล่าวเป็นต้นที่ 4 จากต้นศรีมหาโพธิ์ต้นแรกที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ โดยสำหรับต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นแรกนั้นเป็นสหชาติกับพระพุทธเจ้า (เกิดในวันเดียวกับวันที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ) มีอายุถึง 352 ปี จนในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จึงถูกทำลายโดยพระชายาของพระเจ้าอโศกมหาราช เพราะความอิจฉาที่พระเจ้าอโศกรักและหวงแหนต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้จนไม่สนใจพระนาง ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สองนั้นปลูกโดยพระเจ้าอโศกมหาราช จากหน่อพระศรีมหาโพธิ์ต้นเดิมและมีอายุยืนมาประมาณ 871-891 ปี จนถูกทำลายในประมาณปีพุทธศักราช 1143-1163 ด้วยน้ำมือของพระราชาฮินดูแห่งเบงกอลพระนามว่าศศางกา ซึ่งพระองค์อิจฉาพระพุทธศาสนาที่มีความรุ่งเรืองมาก จึงทรงแอบนำกองทัพเข้ามาทำลายต้นโพธิ์ต้นนี้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สามปลูกโดยพระเจ้าปูรณวรมา กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เมารยะ และต้นที่สามนี้มีอายุยืนมากว่า 1,258 – 1,278 ปี จึงล้มลงในสมัยที่อินเดียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่สี่ ที่ยังคงยืนต้นมาจนปัจจุบัน ปลูกโดยนายพลเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม เมื่อปีพุทธศักราช 2423
พร้อมนำท่านสักการะ
7 สัตตมหาสถาน หรือสถานที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จประทับเสวยวิมุต เป็นเวลา 7 สัปดาห์หลังจากตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง อันประกอบไปด้วย
- เสด็จประทับบนพระแท่นวัชรอาสน์ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ พร้อมเสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน ในสัปดาห์ที่ 1
- เสด็จประทับ ณ อนิมิสเจดีย์ ทรงยืนจ้องพระเนตรดูต้นศรีมหาโพธิ์ โดยมิได้กะพริบ
- พระเนตรตลอด 7 วัน ในสัปดาห์ที่ 2
- เสด็จประทับ ณ รัตนจงกรมเจดีย์ ทรงนิมิตจงกรมขึ้น แล้วเสด็จจงกรมเป็นเวลา 7 วัน ในสัปดาห์ที่ 3
- เสด็จประทับ ณ รัตนฆรเจดีย์ โดยเสด็จไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้น
- ศรีมหาโพธิ์ และประทับนั่งขัดสมาธิในเรือนแก้วซึ่งเทวดานิรมิตถวาย ทรงพิจารณาพระอภิธรรมตลอด 7 วัน ในสัปดาห์ที่ 4
- เสด็จไปประทับใต้ต้นไทร อชปาลนิโครธ ซึ่งเป็นที่พักของคนเลี้ยงแกะ ในสัปดาห์ที่ 5
- เสด็จไปประทับนั่งขัดสมาธิใต้ต้นจิก มุจลินท์ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นศรีมหาโพธิ์ ในสัปดาห์ที่ 6
- เสด็จไปประทับใต้ต้นเกด ราชายตนะ ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน ในสัปดาห์ที่ 7
เที่ยง
รับประทานอาหารกลางวัน
บ่าย
หลังอาหาร นำท่านเที่ยวชม สถูปนางสุชาดา ซึ่งปัจจุบันเป็นเนินดินสูงมีการก่ออิฐล้อมรอบสูงประมาณ 4 เมตร รอบๆเป็นลานกว้างมีร่องรอยการขุดดินหาโบราณวัตถุ สถูปแห่งนี้ถูกสร้างเป็นอนุสรณ์สถานโดยพระเจ้าอโศกมหาราช ในสมัยพุทธกาลนางสุชาดาคือผู้ที่ถวายข้าวมธุปายาสพร้อมถาดทองคำให้กับพระพุทธเจ้า ในช่วงที่พระพุทธองค์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกริยาและกลับมาเสวยอาหารตามปกติ
ต่อจากนั้น นำท่านเยี่ยมชม แม่น้ำเนรัญชรา สถานที่สำคัญทางศาสนาที่พระศาสดาได้รับการถวายข้าวมธุปายาสพร้อมถาดทองคำจากนางสุชาดา และ พระองค์ได้อธิษฐานจิตเสี่ยงทายหากพระองค์ท่านสามารถตรัสรู้ได้ ขอให้ถาดทองคำลอยทวนสายน้ำ
จากนั้นนำท่านเยี่ยมชม วัดพุทธนานาชาติ เช่น วัดไทยพุทธคยา วัดพุทธศรีลังกา วัดพุทธญี่ปุ่น วัดพุทธฑิเบต เป็นต้น อิสระให้ท่านชมสถาปัตยกรรมในการสร้างโบสถ์ วิหารที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละประเทศ
อิสระช็อปปิ้ง ตามอัธยาศัย
ค่ำ
รับประทานอาหารเย็นภายในโรงแรม
ที่พัก
นำท่านเข้าสู่โรงแรมที่พักในพุทธคยา เมืองคยา ณ โรงแรม .....
วันที่ 4
พุทธคยา - นาลันทา - เมืองราชคฤห - เมืองไวสาลี
เช้า
รับประทานอาหารเช้าภายในโรงแรมที่พัก
หลังอาหาร นำท่านออกเดินทางสู่ เมืองนาลันทา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
พร้อมนำท่านชม มหาวิทยาลัยนาลันทา สถานที่กำเนิดของอัครสาวกองค์สำคัญ คือ พระสารีบุตร ผู้เป็นเลิศทางด้านปัญญา โดยมีหลักฐานบ่งชี้คือ สถูปที่เป็นอนุสรณ์สถานต่อพระมหาเถระรูปนี้ เมืองนาลันทา ยังได้รับการสมญานาม เมืองแห่งความรู้ เพราะมีมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก (โดยประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนาลันทาเริ่มขึ้นโดย ถูกสร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์คุปตะพระองค์หนึ่งพระนามว่าศักราทิตย์ หรือกุมารคุปตะที่ 1 ครองราชย์ประมาณระหว่างปีพุทธศักราช 958-998 ได้ทรงสร้างวัดอันเป็นสถานศึกษาขึ้นแห่งหนึ่งที่เมืองนาลันทาและกษัตริย์พระองค์ต่อๆ มาในราชวงศ์นี้ก็ได้สร้างวัดอื่นๆ เพิ่มขึ้นในโอกาสต่างๆ จนมีถึง 6 วัด และสร้างกำแพงล้อมรอบ โดยขนานนามว่า “นาลันทามหาวิหาร” ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 1742 มหาวิทยาลัยนาลันทาก็พบกับการล่มสลาย เมื่อถูกกองทัพมุสลิมเติร์กเข้าครอบครองดินแดนและเผาทำลายวัดและปูชนียสถาน ตลอดจนฆ่าพระภิกษุ นักศึกษา และคณาจารย์ ไปอย่างมากมาย เมื่อมหาวิทยาลัยนาลันทาล่มสลายไปแล้วชื่อเสียงของเมืองนาลันทาก็ค่อยๆถูกลบเลือนจากคนทั่วไป จนกระทั่งปีพุทธศักราชที่ 2403 เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม "บิดาแห่งการสำรวจโบราณคดีอินเดีย" ได้ค้นพบมหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงกองดินสูงเท่านั้น ต่อมาจึงได้ขุดสำรวจตามหลักวิชาการโบราณคดี มหาวิทยาลัยก็ได้ปรากฏแก่สายตาชาวโลกอีกครั้ง
เที่ยง
รับประทานอาหารกลางวัน
บ่าย
จากนั้น นำท่านสักการะ
หลวงพ่อดำแห่งนาลันทา (มีลักษณะพระเกตุทรงบัวตูม ปางนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ชี้แม่พระธรณีเป็นพยาน แกะสลักด้วยหินดำ หน้าตักกว้าง 60 นิ้ว สูงนับจากพระเพลาถึงยอดพระเกตุ 69 นิ้ว สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าเทวาปาล ในปีพุทธศักราชที่ 1353
ได้เวลาอันสมควร นำท่านออกเดินทางสู่
เมืองราชคฤห์ หรือเบญจคีรีนคร แปลว่า เมืองที่มีเขาทั้ง 5 อันได้แก่ เขาคิชกูฏ เขาปัณฑวะ เขาเวภาระ เขาอิสิคิลิ และเขาเวปุลละ เมืองราชคฤห์ในสมัยพุทธกาลนั้นเดิมทีเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ ที่มีประวัติศาสตร์ของศาสนาพุทธอย่างมากมาย มีเจ้าเมืองปกครองในยุคนั้นคือพระเจ้าพิมพิสารที่ถือได้ว่าเป็นโยมอุปฐากของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีส่วนช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาที่สำคัญอย่างมาก ด้วยการถวายพื้นที่สำหรับเป็นพุทธสถานแห่งแรก และเมืองราชคฤห์ยังเป็นสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาอีกมากมาย
นำท่านชม
วัดเวฬุวันมหาวิหาร หรือป่าไผ่ สถานที่กำเนิดวันสำคัญทางศาสนา “วันมาฆบูชา” ซึ่งเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ต่อหน้าพระสงฆ์ที่พระองค์ทรงบวชให้ทั้งหมด และวัดเวฬุวันมหาวิหารยังเป็นวัดแห่งแรกของพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่ที่พระเจ้าพิมพิสารถวายให้กับองค์พระศาสดา
ต่อจากนั้น นำท่านชม
ชีวกอัมพวันวิหาร หรือสวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ซึ่งถวายเป็นสังฆาวาส และเป็นโรงพยาบาลสงฆ์แห่งแรกของโลกที่ดูแลพระภิกษุสงฆ์อาพาธ รวมไปถึงพระพุทธองค์ด้วยเช่นเดียวกัน เมื่อครั้งเหตุการณ์พระเทวทัตผลักก้อนหิน
หลังจากนั้น นำท่านเดินทางชมจุดสำคัญต่างๆณ
ยอดเขาคิชกูฏ สถานที่ประทับพรรษาแรกของพระพุทธเจ้า ซึ่งปรากฏหลักฐานหลายจุดที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธประวัติ อันประกอบไปด้วย
- ถ้ำพระโมคคัลลานะ ที่พำนักและบำเพ็ญเพียรของอัครสาวกเบื้องซ้าย ผู้เป็นเอตทัคคะที่มีอิทธิฤทธิ์เป็นเลิศ และเป็นสถานที่พระโมคคัลลานะมองเห็นอชครเปรตที่มีความสูง 25 โยชน์ (1 โยชน์ มีค่าเท่ากับ 16 กิโลเมตร) ถูกไฟเผาจากหัวถึงหาง ซึ่งพระพุทธองค์ทรงเล่าถึงอดีตชาติของเปรตตนนั้น
- ที่กลิ้งหินของพระเทวทัต เป็นจุดที่สามารถมองเห็นจากบริเวณด้านหน้าถ้ำ
- พระโมคคัลลานะ ที่ปรากฏก้อนหินเรียงกัน 3 ก้อน มีช่องระหว่างเขาสามารถเดินเข้าไปได้ ซึ่งในสมัยพุทธกาลนั้น เส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางขึ้น-ลงเพียงทางเดียว ซึ่งเชื่อกันว่าพระเทวทัตพยายามกลิ้งหินจากข้างบนโดยหวังปลงพระชนม์องค์พระศาสดา แต่สุดท้ายสามารถทำอันตรายต่อพระพุทธองค์ได้เพียงห้อพระโลหิต
- ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร) ที่พำนักและบำเพ็ญเพียรของอัครสาวกเบื้องขวา
- ผู้เป็นเอตทัคคะที่มีปัญญาเป็นเลิศ ที่สามารถบรรลุอรหันตผลภายใน 15 วัน หลังจาก
- การอุปสมบท
- อานันทกุฎี ตั้งอยู่ด้านหน้าพระคันธกุฎี กุฏิของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นการตรวจสอบเหล่ากษัตริย์ เทวดา และพุทธศาสนิกชนที่ต้องการเข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
- พระคันธกุฎี ซึ่งเคยเป็นกุฏิของพระพุทธเจ้า มีขนาดประมาณ 2.5 * 3 เมตร และเป็นสถานที่แสดงพระธรรมหลายสูตรต่อพระเจ้าพิมพิสารและพุทธศาสนิกชน
จากนั้นนำท่านเข้าสู่ตัวเมือง
พุทธคยา เมืองคยาที่พัก
นำท่านเข้าสู่โรงแรมที่พักในเมืองไวสาลี ณ โรงแรม ....
วันที่ 5
เมืองไวสาลี - เมืองกุสินารา
เช้า
รับประทานอาหารเช้าภายในโรงแรมที่พัก
หลังอาหาร นำท่านเดินทางสู่ เมืองไวสาลี ในอดีตคือแคว้นวัชชีที่ปกครองโดยกษัตริย์ลิจฉวี เป็นหนึ่งใน 16 แคว้นของชมพูทวีป ซึ่งในสมัยพุทธกาลพระพุทธองค์เคยมาโปรดให้ชาวเมืองได้รอดพ้นจากโรคอหิวาตกโรค ที่แม้แต่พระมหาวีระ ศาสดาแห่งศาสนาเชนไม่สามารถบำบัดโรคร้ายนี้ได้ จึงถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่ง
นำท่านชม ปาวาลเจดีย์ หรือสารีริกธาตุสถูป ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับแบ่ง 1 ใน 8 ส่วน เมื่อครั้งที่โทณพราหมณ์ได้ทำพิธีแบ่งให้กับ 8 นคร ภายหลังการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ โดยเมื่อปีพุทธศักราช 2501 ได้มีการขุดพบผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จึงเป็นสถานที่สามารถระบุได้ว่าเป็นสถานที่ตั้งของแคว้นวัชชี และในสมัยพุทธกาลนั้น ยังเป็นสถานที่พระยามารได้เข้ามากราบทูลขอให้พระองค์ปลงอายุสังขารเสด็จปรินิพพาน ณ สถานที่แห่งนี้ โดยพระพุทธองค์ทรงตรัสในวันปลงอายุสังขาร “สังขาร ทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา ขอท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ชนเหล่าใดทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งพาล ทั้งบัณฑิต ทั้งมั่งมี ทั้งขัดสน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า”
เที่ยง
รับประทานอาหารกลางวัน
บ่าย
จากนั้น นำท่านชม กุฎาคารศาลา วัดป่ามหาวัน ที่มีลักษณะเป็นสถูปทรงบาตรคว่ำ ซึ่งกษัตริย์ลิจฉวีทรงสร้างถวายสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธองค์ทรงประทับจำพรรษา ณ สถานที่แห่งนี้ ในพรรษาที่ 5
พร้อมนำท่านชม เสาอโศกรูปสิงห์ ที่เชื่อว่ามีความสมบูรณ์ที่สุด ที่อยู่ในลักษณะนั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกที่มีความสมบูรณ์ที่สุด ในปัจจุบันสถานที่แห่งนี้หลงเหลือเพียงซากโบราณสถานที่ประกอบไปด้วยสังฆาราม ห้องพัก ห้องประชุมที่สำคัญวัดแห่งนี้เป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ประธานพุทธานุญาตบวชพระนางปชาบดีโคตสีเป็นพระภิกษุณีรูปแรกของโลก
นำท่านเดินทางสักการะ เกสรียาสถูป บริเวณที่พระพุทธองค์ทรงหันกลับมาทอดพระเนตรดูเมืองไวสาลีเป็นครั้งสุดท้าย และพระราชทานบาตรให้กับพวกลิจฉวีก่อนเดินทางไปยังกุสินารา เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานสถูปแห่งนี้ถูกขุดพบเมื่อปีพุทธศักราช 2541 โดยเชื่อว่ากันว่าเป็นสถูปที่สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งมีขนาดใหญ่และสูงที่สุดในโลก ด้วยขนาดความสูงประมาณ 41 เมตร ก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวเมื่อปีพุทธศักราช 2474 จึงเหลือความสูงประมาณ 35 เมตร โดยบริเวณใกล้เคียงพระสถูปแห่งนี้ยังปรากฏเสาอโศก
หลังจากนั้น นำท่านเดินทางสู่ เมืองกุสินารา เดิมในสมัยพุทธกาล เมืองกุสินารานั้นเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นมัลละ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของ สาลวโนทยาน หรือป่าไม้สาละที่มีความสำคัญเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานและเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงของพระพุทธองค์
นำท่านเดินทางสู่ สาลวโนทยาน หรือป่าสาละ แห่งแคว้นมัลละในสมัยพุทธกาล
พร้อมนำท่านชม ปรินิพพานสถูป เป็นสถูปที่อยู่ด้านหลังวิหารปรินิพพาน ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชพระราชทานพระราช-ทรัพย์ 100,000 รูปี ให้สร้างขึ้นคร่อมกับพระแท่นปรินิพพาน มีลักษณะเป็นทรงบาตรคว่ำสูง 65 เมตร มียอดฉัตร 3 ชั้น พร้อมปรากฏเสาอโศกในบริเวณใกล้เคียง
จากนั้น นำท่านนมัสการ พระพุทธรูปปางปรินิพพานณ วิหารปรินิพพาน เป็นพระพุทธรูปที่เป็นศิลปะในสมัยคุปตะ (พุทธศักราช 823 - 1093) โดยช่างฝีมือชาวมธุรา ที่มีขนาดความยาวประมาณ 7 เมตร สูงประมาณ 1 เมตร ประดิษฐานอยู่บนพระแท่นจุณศิลา ที่ทำจากทรายแดงของเมืองจุนนะวิหารแห่งนี้ถูกขุดครั้งแรก เมื่อปีพุทธศักราช 2397 โดยนายพลเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม และถูกขุดเรื่อยมาจนกระทั่งปีพุทธศักราช 2450 ได้ค้นพบโบราณวัตถุมากมาย รวมทั้งพระพุทธรูปปางปรินิพพานที่ประดิษฐาน ณ สถานที่แห่งนี้
หลังจากนั้น นำท่านชม มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ทำพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ซึ่งมีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่ารามภาร์-กา-ฏีลา อยู่ห่างจากที่พระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานประมาณ 1 กิโลเมตร
ค่ำ
รับประทานอาหารค่ำภายในโรงแรม
ที่พัก
นำท่านเข้าสู่โรงแรมที่พักเมืองกุสินารา ณ โรงแรม .....
วันที่ 6
เมืองกุสินารา - เมืองลุมพินีประเทศเนปาล
เช้า
*** โปรดเตรียมหนังสือเดินทางสำหรับข้ามผ่านแดนประเทศอินเดีย – เนปาล ***
รับประทานอาหารเช้าภายในโรงแรมที่พัก
หลังจากนั้น นำท่านเดินทางสู่
ลุมพินี เมืองไภรวา ประเทศเนปาล ซึ่งสถานที่แห่งนี้เป็นสังเวชนียสถานแห่งเดียวที่ไม่อยู่ในประเทศอินเดีย อันเนื่องมาจาก ก่อนที่สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จมาประสูติ พระองค์ท่านเป็นพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ยังมิได้รับอาราธนาของทวยเทพทั้งหลายทรงพิจารณาดู "ปัญจมหาวิโลกนะ" คือ การตรวจดูอันยิ่งใหญ่ 5 อย่าง ก่อนที่จะตัดสินพระทัยประทานปฏิญาณรับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลาย ว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลกไปบังเกิดในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้ามี 5 อย่างที่พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทรงเลือก ดังนี้
- กาล ทรงเลือกอายุกาลของมนุษย์
- ทวีป ทรงเลือกชมพูทวีป
- ประเทศ ทรงเลือกมัธยมประเทศ
- ตระกูล ทรงเลือกตระกูลกษัตริย์ศากยวงศ์
- มารดา ทรงเลือกมารดาที่มีศีลห้าบริสุทธิ์ ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัป และกำหนดอายุของมารดา ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา
เที่ยง
รับประทานอาหารกลางวัน
บ่าย
นำท่านเยี่ยมชม สวนลุมพินีวัน ตั้งอยู่ที่เมืองไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล
นำท่านชม วิหารมายาเทวี สถานที่ประสูติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งภายในวิหารจะปรากฏรูปปั้นของพระนางมายาเทวี (พระมารดาของพระพุทธเจ้า) ขณะพระองค์กำลังให้กำเนิดเจ้าชายสิทธัตถะ และ รูปรอยเท้าของเจ้าชายสิทธัตถะ ภายนอกวิหาร จะปรากฏ สระโบกขรณี และเสาอโศกซึ่งถูกฝังดินไว้และพบจารึกเป็นอักษรพราหมณ์ระบุว่าที่แห่งนี้คือสถานที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ
ที่พัก
นำท่านเข้าสู่โรงแรมที่พักในลุมพินี เมืองไภรวา ประเทศเนปาล ณ โรงแรม ....
วันที่ 7
ลุมพินี - เมืองสาวัตถี - เมืองลัคเนาว์
เช้า
รับประทานอาหารเช้าภายในโรงแรมที่พัก
นำทุกท่านเดินทางสู่ เมืองสาวัตถี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง
เที่ยง
รับประทานอาหารกลางวัน
บ่าย
หลังอาหาร นำท่านสักการะ
สถานที่แสดงยมกปาฏิหาริย์สถูป เป็นสถานที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ที่แม้แต่อัครสาวกไม่สามารถแสดงได้ โดยปาฏิหาริย์ที่เกิดเป็นลักษณะคู่ คือมี 2 เหตุการณ์ อันประกอบไปด้วย การปราบทิฏฐิพวกเดียรถีย์ภายใต้ต้นมะม่วงคัณฑามพฤกษ์ และการเสด็จขึ้นไปสวรรค์ชั้นที่ 2 หรือดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระนางมายาเทวี พระพุทธมารดาของพระองค์
จากนั้น นำท่านเที่ยวชม
วัดเชตวันมหาวิหาร หรือ สาเหต (SAHET)พระอารามหลวงขององค์พระศาสดา จำพรรษาถึง 19 พรรษา โดยท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้บริจาคทรัพย์สมบัติในการสร้างมหาวิหารแห่งนี้ ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 80 ไร่
พร้อมเยี่ยมชม
สถานที่พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ ซึ่งอยู่บริเวณด้านหน้าวัดเชตวันมหาวิหาร และอานันทโพธิ์ ต้นโพธิ์ที่ปลูกโดยพระอานนท์ในสมัยพุทธกาล ต้นโพธิ์ต้นนี้ปรากฏหลักฐานจารึกของหลวงจีนฟาเหียนและพระถังซัมจั๋ง โดยต้นโพธิ์ดังกล่าวยังคงยืนต้นมาจนปัจจุบัน
จากนั้นนำท่านเยี่ยมชม
พระมูลคันธกุฎี กุฏิของพระพุทธเจ้า ที่ได้รับการขุดค้นและปรับแต่งภูมิทัศน์เป็นอย่างดี วัดเชตวันมหาวิหารแห่งนี้ยังเป็นสถานที่เกิดเรื่องราวและพระสูตรสำคัญๆ ในพระพุทธศาสนามากมายเช่น เรื่องของพระองคุลิมาลนางปฏาจาราเถรีพระนางกิสาโคตมีเถรีการถวายอสทิสทานเรื่องพระพุทธองค์ทรงดูแลภิกษุไข้พราหมณ์จูเฬกสาฏกทรงพยากรณ์สุบินนิมิต 16 ประการนางกาลียักษิณีนางจิญมาณวิกาถูกแผ่นดินสูบพระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ เป็นต้น ในส่วนพระสูตรนั้นมีจำนวนมาก ที่สำคัญ ๆ เช่น มหามงคลสูตร, ธชัคคสูตร, ทสธัมมสูตร, สาราณียธรรมสูตร, อหิราชสูตร, เมตตานสังสสูตร, คิริมานนทสูตร, ธัมมนิยามสูตร, อปัณณกสูตร, อนุตตริยสูตร, พลสูตร, มัคควิภังคสูตร, โลกธัมมสูตร, ทสนารถกรณธัมมสูตร, อัคคัปปทานสูตร, ปธานสูตร, อินทริยสูตร, อนริยสูตร และสัปปุริสธัมมสูตร
นำท่านชม
บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เดิมทีชื่อนายสุทัตตะ แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี เนื่องจากความที่เป็นคนใจบุญสุนทาน ชอบช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกยาก ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้นได้พบกับพระพุทธองค์ เมื่อครั้งเดินทางไปทำมาค้าขายที่เมืองราชคฤห์ และได้เลี้ยงภัตตาหารแก่พระพุทธศาสดา พร้อมได้สดับรับฟังพระธรรมเทศนา อนุปุพพิกถาและอริยสัจ 4 จนบรรลุโสดาปัตติผล จนกระทั่งได้อาราธนาพระพุทธองค์ไปประทับที่เมืองสาวัตถี โดยได้ทำการซื้อพื้นที่สวนของเจ้าเชตมาสร้างวัดเชตวันมหาวิหาร อันเป็นที่มาของชื่อวัด และทำให้มหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี อุบาสกผู้คอยอุปัฏฐากพระพุทธศาสนา ท่านได้รับการยกย่องให้เป็นอุบาสกผู้เลิศในการเป็นผู้ถวายทานปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวหลงเหลือเพียง อาคารก่ออิฐสูงเท่าตึก 2 ชั้นมีบันไดขึ้นไปถึงยอดตรงกลางที่เป็นห้องโถงใหญ่ สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่เก็บทรัพย์สมบัติของมหาเศรษฐีในการสร้างวัดเชตวันมหาวิหาร
หลังจากนั้น นำท่านชม
บ้านบิดาขององคุลีมาล หรือบ้านของปุโรหิต บิดาของพระสาวกที่มีชื่อเสียงในเมืองสาวัตถี การโปรดองคุลีมาลครั้งนี้ถือว่า เป็นการที่พระพุทธเจ้าผจญมารได้รับชัยชนะ ครั้งที่ 4 จาก 8 ครั้ง อันปรากฏตามพระชัยมงคลคาถาอันมีใจความดังนี้
- “อุกขิตตะขัคคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
- อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ”
อันมีความหมายว่า พระจอมมุนี ทรงคิดจะแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ จึงได้เอาชนะโจรชื่อ องคุลีมาล ผู้แสนจะดุร้าย มีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นระยะทาง 3 โยชน์จึงขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯปัจจุบัน บ้านบิดาขององคุลีมาลนั้น มีลักษณะเป็นเนินสูง เป็นอาคารอิฐก่อ มีโพรงเป็นช่องทางทะลุไปข้างบนได้ ด้านบนมีห้องกว้างปิดทึบสี่ด้าน ด้านซ้ายมือของด้านบนถูกเปิดโล่งถึงยอดอาคาร แต่ตามหลักฐานที่สันนิษฐานนั้นว่าน่าจะเป็นสถูปมากกว่าที่พักอาศัย และสามารถเชื่อมเรื่องราวของสถานที่ที่สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแก่พระสาวกองค์หนึ่งที่เคยเข่นฆ่าผู้คนถึง 999 ชีวิตตัดนิ้วมือมาร้อยเป็นมาลัยคล้องคอ จนกระทั่งมาพบพระพุทธองค์ทรงเทศน์โปรดจนบรรลุเป็นพระอรหันต์
หลังจากนั้น นำทุกท่านเดินทางสู่
เมืองลัคเนาว์ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง
ค่ำ
รับประทานอาหารเย็นภายในโรงแรม
ที่พัก
นำท่านเข้าสู่โรงแรมที่พักใน เมืองลัคเนาว์ ณ โรงแรม .....
วันที่ 8
เมืองลัคเนาว์ - เมืองมุมไบ - เมืองออรังกาบัด
เช้า
รับประทานอาหารเช้าภายในโรงแรมที่พัก
หลังอาหาร นำทุกท่านเดินทางสู่ สนามบินลัคเนาว์ เพื่อเดินทางไปมุมไบ
11.05 น.
คณะเดินทางออกจาก สนามบินเมืองลัคเนาว์ สู่ เมืองมุมไบ โดย สายการบิน แอร์อินเดีย (Air India) เที่ยวบินที่ AI626
13.15 น.
เดินทางถึง สนามบิน ฉัตราปตีศิวะจิ (ChhatrapatiShivaji) เมืองมุมไบประเทศอินเดียหลังผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมือง และศุลกากรแล้ว
เที่ยง
รับประทานอาหารกลางวัน ตามอัธยาศัย
15.30 น.
คณะเดินทางออกจาก สนามบินเมืองมุมไบ สู่ เมืองออรังกาบัด โดย สายการบิน แอร์อินเดีย (Air India) เที่ยวบินที่ AI442
16.45 น.
คณะเดินทางถึง สนามบินเมืองออรังกาบัด หลังเสร็จพิธีการตรวจคนเข้าเมืองและตรวจสัมภาระเรียบร้อยแล้ว เมืองออรังกาบัด ตั้งอยู่ในรัฐมหารัชตะ เป็นเมืองที่สร้างโดยพระบัญชาของจักรพรรดิ์ออรังเซบ แห่งราชวงศ์โมกุล ซึ่งเมืองแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นเมืองหลวงด้านการท่องเที่ยวของรัฐมหารัชตะ ที่รายล้อมไปด้วยโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ถ้ำอชันต้าและถ้าเอลโลร่า มรดกโลกทางวัฒนธรรม หรือแม้กระทั่ง “บีบี กา มัคบารา” ทัชมาฮาลแห่งที่สองของอินเดีย
ค่ำ
รับประทานอาหารเย็นภายในโรงแรม
ที่พัก
นำท่านเดินทางเข้าสู่ที่พักในเมืองออรังกาบัด ณ โรงแรม .....
วันที่ 9
เมืองออรังกาบัด - ถ้ำอชันต้า - เมืองออรังกาบัด
เช้า
รับประทานอาหารเช้าภายในโรงแรมที่พัก
หลังอาหาร นำท่านออกเดินทางสู่ กลุ่มถ้ำอชันต้า (AJANTA CAVES) (ปิดทำการทุกวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์) มรดกโลกทางวัฒนธรรม ที่ได้รับประกาศจากองค์การยูเนสโก เมื่อปีคริสต์ศักราช 1983 (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง โดยรถโค้ชปรับอากาศ)
เที่ยง
รับประทานอาหารกลางวัน ณ ภัตตาคาร บริเวณถ้ำอชันต้า
บ่าย
หลังอาหาร นำท่านเข้าชม กลุ่มถ้ำอชันตา (AJANTA CAVES) การสร้างถ้ำแห่งนี้ใช้วิธีการขุดเจาะช่องกลางหน้าผา ที่มีจำนวนถ้ำทั้งสิ้น 30 ถ้ำ เรียงจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกตามแนวเทือกเขา สหยาทรี (THE SAHYADRI HILLS) และแม่น้ำวโฆระ มีลักษณะเป็นรูปทรงเกือกม้า โดยการก่อสร้างถูกแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ถ้ำลำดับที่ 1 - 29 ถูกสร้างขึ้นในช่วง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช และถ้ำลำดับที่ 30 สร้างขึ้นในช่วงราวๆคริสต์ศักราช 500 – 650 ซึ่งภายในแต่ละถ้ำ ท่านจะได้พบการแกะสลักและภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำที่พรรณนาถึงพระพุทธประวัติ ซึ่งงานศิลปกรรมต่างๆภายในถ้ำถูกกล่าวขานว่าเป็นศิลปะยุคโบราณต้นแบบงานศิลป์ของประเทศอินเดีย
ได้เวลาอันสมควร นำท่านเดินทางกลับ เมืองออรังกาบัด อิสระให้ท่านเพลิดเพลินกับวิวทิวทัศน์และวิถีชีวิตชาวเมืองท้องถิ่นริมสองฝั่งทาง (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง โดยรถโค้ชปรับอากาศ)
ค่ำ
รับประทานอาหารเย็นภายในโรงแรม
ที่พัก
นำท่านเดินทางเข้าสู่ที่พักในเมืองออรังกาบัด ณ โรงแรม ....
วันที่ 10
เมืองออรังกาบัด - ถ้ำเอลโลร่า - เมืองออรังกาบัด - เมืองมุมไบ
เช้า
รับประทานอาหารเช้าภายในโรงแรมที่พัก
หลังอาหาร นำท่านเดินทางสู่ ถ้ำเอลโลร่า (ELLORA CAVES) (ปิดทำการทุกวันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์) หมู่ถ้ำเหล่านี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การ UNESCO เมื่อปีคริสต์ศักราช 1983 โดยถ้ำแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์คุปตะ เป็นศาสนสถานที่ขุดเจาะเข้าไปในภูเขา อันแสดงให้เห็นถึงมิตรภาพที่แม้จะต่างศาสนากันแต่สามารถอาศัยร่วมกันได้ พร้อมชมฝีมือการแกะสลักหินให้เป็นรูปลักษณ์ที่งดงามยิ่ง ซึ่งถูกสร้างขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 – 8 มีจำนวนถ้ำทั้งสิ้น 34 ถ้ำ โดยแบ่งเป็น เทวสถานของศาสนาฮินดู 17 ถ้ำ พุทธสถาน 12 ถ้ำ และศาสนสถานของเชน 5 ถ้ำ ซึ่งระยะเวลาการก่อสร้างนั้นใช้เวลาร้อยกว่าปีจึงแล้วเสร็จ การสลักหินอันแข็งแกร่งทั้งภายในและภายนอกถ้ำให้ออกมาเป็นมรดกของคนทั้งโลกได้นั้น มีที่มาจากศรัทธาอันแรงกล้าของช่างฝีมือชาย ที่เดินทางมาจากแคว้นต่างๆทั่วสารทิศ บรรจงแกะสลักด้วยเทคนิคชั้นสูง (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง โดยรถโค้ชปรับอากาศ)
จากนั้น นำท่านชม งานประติมากรรมการแกะสลักหินภายในถ้ำศาสนาฮินดูหมายเลข 16 ซึ่งแกะสลักเป็นรูปเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ ที่เพียบพร้อมไปด้วยความงดงามและอลังการ ที่ใช้เนื้อที่ถึง 1,700 ตารางเมตร จากพื้นที่ทั้งหมด 6,500 ตารางเมตร
เที่ยง
รับประทานอาหารกลางวัน ณ ภัตตาคาร
บ่าย
หลังอาหาร นำท่านเดินทางกลับ เมืองออรังกาบัด อิสระให้ท่านเพลิดเพลินกับวิวทิวทัศน์และวิถีชีวิตชาวเมืองท้องถิ่นริมสองฝั่งทาง (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง โดยรถโค้ชปรับอากาศ)
จากนั้น นำท่านเดินทางชม บีบี กา มัคบารา (BIBI KA MAQBARA) หรือ “มินิ ทัชมาฮาล” แห่งเดคคานตั้งอยู่ภายนอกกำแพงเมืองออรังกาบัดที่พระเจ้าอซัม ซาห์ พระโอรสของพระเจ้าออรังเซป ทรงมีพระบัญชาให้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1678 เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานที่รำลึกถึงพระนางราเบีย ธุรณี (RABIA DURRANI) ผู้เป็นมารดา และที่น่าประหลาดใจจากข้อความจารึกบริเวณด้านหน้าประตูทางเข้า ที่ปรากฏข้อความว่า “อนุสรณ์สถานแห่งนี้ออกแบบและกำกับการก่อสร้างโดยนายช่างอาทา อุลลาร์ (ATA-ULLAH) ซึ่งนายช่างคนดังกล่าวเป็นบุตรชายของ อุสตาร์ด อาหมัด ลาเฮารี (USTAD AHMAD LAHAURI) นักออกแบบที่สำคัญที่สุดในการสร้างสุดยอดสถาปัตยกรรมของประเทศอินเดีย “ทัชมาฮาล”
หลังจากนั้น อิสระให้ท่านเลือกซื้อสินค้าพื้นเมือง เพื่อเป็นของฝากและของที่ระลึกในการเดินทางมายังเมืองออรังกาบัดแห่งนี้ เมืองออรังกาบัดมีของพื้นเมืองขึ้นชื่อ คือผ้าไหมฮิมรู (HIMROO SILK) ซึ่งเป็นการทอผ้าไหมกับผ้าคอตตอน ที่ถูกนำเผยแพร่เมื่อคราวที่ สุลต่านชาวเติร์กแห่งเดลลี มูฮำหมัดบินทุคลุค (MUHAMMAD BIN TUGHLUQ) ครั้นจะทำการย้ายเมืองหลวงมายังป้อมปราการเดาลาตาบัด แห่งเมืองออรังกาบัด ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14ผ้าไหมฮิมรู เป็นคำที่แผลงมาจากภาษาเปอร์ซียว่า “ฮัมรู (HUM-ROO)” มีความหมายว่า คล้ายคลึง (SIMILAR) เพราะผ้าฮิมรูได้ใช้กระบวนการทอแบบเดียวกับ ผ้าคุมคาว๊าบ (KUM-KHWAB) ของชาวเปอร์เซีย แต่แตกต่างกันเพียงวัสดุที่ใช้ในการทอ เพราะผ้าคุมคาว๊าบนั้น เป็นผ้าสำหรับราชวงศ์ของสุลต่านเปอร์เซียจึงทอมาจากด้ายเงินและทองคำแท้
ค่ำ
รับประทานอาหารเย็น
ได้เวลาอันสมควร นำท่านเดินทางสู่ สนามบินภายในประเทศเมืองออรังกาบัด เพื่อนำท่านเดินทางสู่เมืองมุมไบ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ของบริษัท ให้บริการและคอยอำนวยความสะดวกให้กับท่าน
20.20 น.
คณะเดินทางออกจาก สนามบินเมืองออรังกาบัด สู่ เมืองมุมไบ โดย สายการบิน แอร์อินเดีย (Air India) เที่ยวบินที่ AI441
21.30 น.
คณะเดินทางถึงคณะเดินทางถึง สนามบินนานาชาติ Chhatrapati Shivaji เมืองมุมไบ อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ หลังเสร็จพิธีการตรวจคนเข้าเมืองและตรวจสัมภาระเรียบร้อยแล้ว
22.45 น.
นำคณะเช็คอิน เพื่อเดินทางกลับสู่ กรุงเทพมหานคร โดยจะมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทให้บริการทำการเช็คอินและรับบัตรโดยสาร
วันที่ 11
เมืองมุมไบ - กรุงเทพมหานคร
01.55 น.
คณะเดินทางออกจาก สนามบินนานาชาติเมืองมุมไบ สู่กรุงเทพมหานคร โดย สายการบินเจ็ตแอร์เวย์ (Jet Airway) เที่ยวบินที่ 9W62
07.40 น.
คณะเดินทางกลับถึง กรุงเทพมหานคร โดยสวัสดิภาพ